แสงเดินทางอย่างไร วันนี้วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
— September 18, 2015
แสงคือสิ่งที่เราพบเจอเป็นประจำในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจากธรรมชาติ อย่างดวงอาทิตย์ หรือจากวัตถุที่สร้างขึ้น เช่น หลอดไฟ , โคมไฟ จึงทำให้แสงมีอิทธิพลอย่างมากในการดำรงชีวิต ถ้าหากไม่มีแสงมนุษย์จะใช้ชีวิตอย่างลำบากแน่นอนโดยเฉพาะในที่มืด แต่ถึงอย่างนั้นแสงก็มีข้อจำกัดของมันเช่นกัน แสงนั้นไม่สามารถเดินทางผ่านสิ่งที่เรียก “วัตถุทึบแสง” วัตถุจำพวกนี้จะเป็นตัวกั้นไม่ให้แสงเดินทางผ่าน และนั้นก็หมายความว่า ความสว่างไม่สามารถส่องถึงได้นั้นเอง เช่น กระจกหนา , ไม้ , แผ่นเหล็ก ซึ่งวัตถุจำพวกนี้จะมีมวลที่หนามาก ดังนั้นหากแสงส่องผ่านจะเหมือนเป็นการดูดแสง หรือเกิดการสะท้อนกลับนั้นเอง
โดยปกตินั้นแสงจะสามารถเดินทางได้รวดเร็วมากถึง สามแสนกิโลเมตรต่อวินาที โดยแสงจำเป็นต้องอาศัยตัวกลางเสมอโดยวัตถุที่มีความหนาแน่นต่ำอย่าง ผิวน้ำ , แก้ว รวมถึงอากาศอีกด้วย ดังนั้นหากใครที่สังเกตการณ์เดินทางของแสงจะเป็นฝุ่นละอองจำนวนมากที่แสงส่องถึง ดังนั้นไม่ว่าวัตถุใดที่มีลักษณะโปร่งใส นับว่าเป็นตัวกลางในการเดินทางของแสงเสมอ และนอกจากแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงแล้ว แสงยังมีลักษณะในการเดินทางของรูปการหักเหอีกด้วย ซึ่งการหักเหของแสงนั้นเกิดได้ง่ายๆ เมื่อมีวัตถุที่มวลความหนาแน่นหรือลักษณะที่ต่างกัน อยู่ในทิศทางเดียวกับที่แสงเดินทางผ่าน แสงจะทำปฏิกิริยาของการหักเหทันทีและความเร็วจะลดลงโดยทันที ทั้งนี้จากการหักเหแล้วเราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของการสะท้อนแสง โดยการสะท้อนของแสงนั้นเกิดได้จาก การที่แสงไปกระทบบนวัตถุที่ตั้งอยู่ในลักษณะ 42 องศานั้นเองครับ
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นสรุปได้อย่างง่ายๆ ว่าเป็นเพียงพื้นฐานของการเดินทางของแสงเท่านั้น โดยในตามจริงแล้ว การเดินทางของแสงยังมีในอีกหลายรูปแบบเราที่ยังกล่าวไม่หมดในที่นี้ รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับจากาการเดินทางแสงเช่น การนำทฤษฏีหักเหของแสงไปทำเป็นแว่นตา ไปจนถึงการนำความเร็วของแสงมาใช้กับระบบสื่อสารเป็นต้น